Pneumatic Implementation
Pneumatic Implementation
เริ่มต้นจากปั้มลมจะมีอุปกรณ์ทำความสะอาดลมเพื่อกรองฝุ่นและไอน้ำออกและควบคุมความดันลมอยู่ที่ 4 บาร์ เพราะว่า ถ้าเกินกว่า 4บาร์ทำให้แรงดูดชิ้นงานแรงเกินไปจนไม่สามารถปล่อยชิ้นงานได้ หลังจากควมคุมแรงดันลมและกรองลมเรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะนำพลังงานต่อเข้าไปยังโซลินอยด์วาล์ว 5/3 โดยต่อเข้าไปช่อง P และอุดช่องลม B ไว้เนื่องจาก แวคคั่มที่ใช้ในโปรเจท ใช้ช่องลมเพียงช่องเดียวเท่านั้น จึงต่อข่อง A จากโซลินอยด์วาล์ว 5/3 ไปยัง P ของ แวคคั่ม การทำงานของโซลินอยด์วาล์วจะเปลี่ยนการทำงานได้เมื่อมีการป้อนสัญญาณไฟฟ้า 24 V ไปยังขดลวดไฟฟ้าและเมื่อปิดสัญญาณไฟฟ้า 24 V ลง จะมีการคืนตำแหน่งจากแรงอัดของสปริงที่อยู่ฝั่งตรวงข้ามของลดลวดไฟฟ้า เมื่อมีพลังงานลมผ่าน ช่อง P ของแวคคัี่ม ช่อง R เกิดแรงดูดจนสามารถดูดจับชิ้นงานได้
ภาพที่ 1
นอกจากนี้ขนาดของหัวยางแวคคั่มก็มีผลต่อการดูดจับชิ้นงานเหมือนกัน เนื่องจากชิ้นงานที่เข้ามาใช้งานในโปรเจทมีขนาดเล็ก ซึ่งเริ่มแรกใช้หัวยางแวคคั่มขนาด 15 มม. พบว่าขนาดใหญ่เกินไปไม่สามารถดูดจับชิ้นได้จึงต้องลดขนาดของหัวยางแวคคั่มลงเป็นขนาด 3 มม.
ภาพที่ 2
หลังจากที่เปลี่ยนหัวยางแวคคั่มเป็นขนาด 3 มม. พบว่าสามารถดูดจับชิ้นงานได้ดีกว่าขนาดหัวยางแวคคั่ม 15 มม. ทำให้ ABB YUMI มีความแม่นยำในการดูดจับชิ้นงานสูงขึ้น
ภาพที่ 3
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น